คณะนิติศาสตร์ของเรา กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเรียนรู้ที่เราจะเปลี่ยนจากการเรียนแบบเดิมๆ ที่เน้นการฟังบรรยายมาสู่การเรียนรู้แบบ Active Learning หรือการเรียนรู้เชิงรุกที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมหรือประสบการณ์ร่วมในการเรียนรู้อันเป็นการตอบสนองต่อยุคสมัยของผู้เรียนในปัจจุบันมากขึ้น

“Active Learning” คืออะไร?
Active Learning คือการเรียนรู้ที่เน้นให้นักศึกษาได้ลงมือทำ ได้คิด ได้วิเคราะห์ และได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นและอาจารย์ เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การอภิปรายกลุ่ม การทำโครงงาน การแก้ปัญหาสถานการณ์จำลอง หรือการนำเสนอผลงาน หรือกิจกรรมในห้องเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากขึ้น อาทิ AI , Kahoot!, Mentimeter, Mango Canvas, Canva, Clips

นักศึกษาควรเตรียมตัวอย่างไร?

  • เปิดใจรับสิ่งใหม่: พร้อมที่จะลองทำ กิจกรรมใหม่ๆ และร่วมมือกับเพื่อน

  • เตรียมตัวมาเรียน: อ่านหนังสือและทำความเข้าใจเนื้อหาเบื้องต้นมาก่อน

  • กล้าแสดงออก: อย่ากลัวที่จะถามคำถามหรือแสดงความคิดเห็น

  • พร้อมที่จะเรียนรู้จากเพื่อน: การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

ทำไมเราต้องเปลี่ยนมาใช้ Active Learning?

  • พัฒนาทักษะที่จำเป็น: เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และการสื่อสาร

  • เพิ่มความเข้าใจในเนื้อหา: การลงมือทำ จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  • เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้: การเรียนรู้จะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

  • เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงาน: ทักษะที่ได้จาก Active Learning จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต

 

Our Faculty of Law is entering a new era of learning: transitioning from traditional lecture-based education to Active Learning, which encourages student participation and collaborative experiences. This approach responds more effectively to the contemporary needs of today’s learners.

What is “Active Learning”?

Active Learning is a learning approach that emphasizes hands-on activities, critical thinking, analysis, and interaction with classmates and instructors to foster a deep understanding of the content. This is achieved through various activities such as group discussions, project work, problem-solving in simulated scenarios, or presentations, as well as classroom activities that utilize diverse formats and modern educational technologies that facilitate learning, such as Kahoot!, Mentimeter, Mango Canvas, Canva, and VDO Clips.

How should students prepare?

  • Open your mind to new things: be ready to try new activities and collaborate with friends.

  • Prepare for learning: read books and understand the basic contents beforehand.

  • Be bold in expressing yourself: don’t be afraid to ask questions or share your opinions.

  • Be ready to learn from friends: exchanging ideas with peers will help you understand the materials better.

Why do we need to switch to Active Learning?

  • To develop essential skills: such as analytical thinking, problem-solving, teamwork, and communication.

  • To enhance understandings of the contents: hands-on experience will help deepen comprehension.

  • To increase enjoyment in learning: learning will no longer be a boring task.

  • To prepare students for the workforce: skills gained from Active Learning will be beneficial for future employment.

คณบดีและรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิติศาสตร์ มช. สื่อสารเชิงกลยุทธ์กับบุคลากรสายสนับสนุนด้านบริหารทั่วไป ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน | Strategic Engagement with General Administrative Support Staff: Driving the Faculty of Law, CMU Toward Excellence and Sustainability

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นประธานในการจัดกิจกรรม Lunch Talk เพื่อสื่อสารเชิงกลยุทธ์กับบุคลากรสายสนับสนุนในส่วนงานบริหาร โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะฯ และขับเคลื่อนการทำงานของทุกฝ่ายให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

คณบดีและรองคณบดีด้านบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สื่อสารเชิงกลยุทธ์แก่บุคลากรสายสนับสนุน มุ่งขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน | Faculty of Law, Chiang Mai University Strategic communication to support personnel Aiming to drive the organization to excellence and sustainability

[English below] เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย ได้ดำเนินการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แก่บุคลากรงานการเงินการคลังและพัสดุ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะฯ ตลอดจนร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นสถาบันการศึกษากฎหมายชั้นนำและเป็นที่พึ่งของสังคมอย่างสง่างาม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนด้วย Active Learning

[English below] คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในระดับชั้นปริญญาตรี ผ่านการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนสู่ Active Learning โดยการขับเคลื่อนของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัษฎายุทธ ผลภาค รองคณบดีด้านนวัตกรรมการเรียน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้นและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต

Podcast : Active Legal Learning Law in Action & Law in Book

สำหรับผู้สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับ Active Legal Learning Law in Action & Law in Book ทางทีมงานได้จัดทำ Podcast เอาไว้ฟังกันให้เข้าใจได้ง่ายๆ

บทวิเคราะห์องค์ความรู้ “การจัดการเรียนการสอนแนว Active Learning: Law in Action & Law in Book” โดย ดร. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

สรุปสาระสำคัญ: บทวิเคราะห์องค์ความรู้ “การจัดการเรียนการสอนแนว Active Learning: Law in Action & Law in Book” โดย ดร. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

คณะนิติศาสตร์ มช. จัด Workshop ‘AI Matthew’ เสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning ในสายกฎหมาย

⚖️ นิติศาสตร์ มช. นำร่อง AI สู่ห้องเรียนกฎหมาย เสริมศักยภาพการเรียนรู้ยุคดิจิทัลคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก้าวล้ำสู่การเรียนการสอนยุคใหม่ด้วยการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้าน AI ในกระบวนวิชากฎหมายล้มละลาย (178332) โดย ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสมัยใหม่

คณะนิติศาสตร์ มช. จัด Workshop ‘AI Matthew’ เสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning ในสายกฎหมาย

⚖️ คณะนิติศาสตร์ มช. จัด Workshop การใช้ AI ในการเรียนการสอนกฎหมาย มุ่งพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learningเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.ชัยณรงค์ เหลืองวิลัย อาจารย์ผู้สอนกระบวนวิชากฎหมายองค์กรทางธุรกิจ (177322) ได้จัด Workshop เพื่อแนะนำการใช้งาน AI Chatbot “Matthew” ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นภายใต้ CMU AI โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่