แสดงรายละเอียดข่าว



ประกาศให้ทุนวิจัยโครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น (สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและโท)

ประกาศให้ทุนวิจัยโครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น (สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและโท) - คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศให้ทุนวิจัยโครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น (สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีและโท)

โครงการ“ประชาธิปไตยกับท้องถิ่น” (SPAN Project-CMU)

1. ความเป็นมา

วิกฤติการณ์ทางการเมืองในสังคมไทยที่อุบัติขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านได้ก่อให้เกิดผลพวงต่างๆ ที่คาดไม่ถึงตามมาหลายด้าน ที่ชัดเจนยิ่งคือ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างผู้คนกลุ่มต่างๆ ตลอดจน องค์กร พรรคการเมือง ที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน กระทั่งนำไปสู่เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองหลายครั้งทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด หลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาสังคมไทยจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร

ประชาชนเกือบจะทุกหมู่เหล่า กลุ่ม องค์กรต่างๆ หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ต่างเรียกร้องโหยหา “การปรองดอง” และมุ่งหวังที่จะเห็นสังคมไทยกลับเข้าสู่ “สภาวะปกติ” กล่าวคือเดินไปข้างหน้าเยี่ยงอารยะประเทศอื่นๆ มีรัฐที่ปกครองโดยเที่ยงธรรม ต่อสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นอยู่ “ทางออก” สำคัญที่หลายภาคส่วนเห็นตรงกันก็คือความจำเป็นในการ “ปฏิรูปสังคมไทย” และการกระจายอำนาจการปกครองให้กับประชาชนพลเมืองในท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ได้มีสิทธิมีเสียงและมีส่วนในการบริหารจัดการการปกครองตนเองในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติอย่างแท้จริง

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมดำเนินการกับโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย ในนาม “โครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี คือระหว่างเดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2555

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

“โครงการประชาธิปไตยกับท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์หลักสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการวิจัยและการประชุมสัมมนา ตลอดจนการให้ทุนการศึกษาวิจัยแก่นักศึกษา เพื่อที่จะสร้างองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็ง ของผู้นำท้องถิ่น และองค์กรภาคประชาสังคม ในการส่งเสริม ปฏิรูป และสร้างความโปร่งใสและการปกครองท้องถิ่นที่สามารถตรวจสอบได้

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) ได้ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ การรับรู้ของพลเมืองในเรื่องประชาธิปไตย การตระหนักในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองประเด็นปัญหาเร่งด่วนด้านการปกครองท้องถิ่นและเครื่องมือหรือกระบวนการที่จะใช้ในการส่งเสริมธรรมาภิบาลที่ดีในท้องถิ่น
(2) ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สถานะขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาลท้องถิ่น ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
(3) ได้ให้ทุนศึกษาวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา รวมจำนวน 20 ทุน ที่จะดำเนินการศึกษาวิจัยในประเด็นหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องธรรมาภิบาล/การปกครองท้องถิ่น
(4) ได้เสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งที่ตั้งอยู่บนเรื่องของ ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และความมั่นใจแน่วแน่ที่จะทำงานร่วมกัน ระหว่าง ภาคประชาสังคม สื่อ ตัวแทน/เจ้าหน้าที่ จากหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัย

4. คณะทำงาน


1. อ.ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ที่ปรึกษาโครงการ
2. รศ.ดร.วัฒนา สุกัณศีล หัวหน้าโครงการ
3. อ.ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว หัวหน้าผู้ประสานงานโครงการ
4. สุดาจันทร์ แสนประเสริฐ เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ

ที่อยู่ติดต่อ
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์และโทรสาร 053 943565 E-mail: cras.cmu@gmail.com หรือ คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053-942909-10 ต่อ 0, 053-942927-29 โทรสาร : 053-942914
E-Mail :  lawcmu@cmu.ac.th

ระบบแจ้งข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะ